- วิธีการรักษาขั้นตอนในการรักษา ขั้นที่ 1 การดูผู้ป่วยว่าถูกงูพิษชนิดใดกัด โดยดูจากรอยเขี้ยว และสังเกตอาการของผู้ป่วย
1.1 งูพิษที่ทำลายระบบประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการหลังจากถูกกัดประมาณ 10 นาที โดยมีลักษณะ หนังตาตก ขากรรไกรแข็ง พูดไม่ชัด กลืนน้ำลายไม่ได้ อ่อนเพลีย แน่นหน้าอก หายใจขัดจนหายใจไม่ออกในที่สุด ซึ่งพิษเหล่านี้เกิดจากงูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงขวา งูกล่อมนางนอน
1.2 งูพิษที่ทำลายระบบกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยจะแสดงอาการหลังถูกกัด 1 ชั่วโมง ขึ้นไป โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดมาก เมื่อยมากบริเวณกล้ามเนื้อที่ถูกกัด บางรายเป็นอัมพาต ซึ่งพิษเหล่านี้เกิดจากงูทะเลชนิดต่าง ๆ
1.3 งูพิษที่ทำลายระบบโลหไต ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมาก บริเวณที่ถูกกัด มีเลือดซึมใต้ผิวหนัง ซ้ำเป็นรอยเล็กใหญ่ มีเลือดซึมตามรอยเขียวที่ถูกกัด เลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะอุจจาระเป็นเลือด อาเจียรเป็นเลือด แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก พูดไม่ชัด ขากรรไกรแข็ง ตายช้า ซึ่งพิษเหล่านี้เกิดจากงูกะปะ งูแมวเซา งูเขียวหางไหม้
ขั้นที่ 2 รักษาผู้ป่วยตามชนิดของงู
- ประโยชน์
1. การตั้งสถานรักษาพิษงู วัดพรหมโลก ช่วยชีวิตผู้ป่วยที่ถูกงูพิษหรือสัตว์มีพิษอื่นกัดได้จำนวนมาก
2. สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีฐานะยากจนได้ไม่ต้องเดินทางไปรักษาพิษงูที่โรงพยาบาล ซึ่งมีค่าใช้จ่ายแพง
3. เป็นการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการรักษาพยาบาล
ที่มา : สำนักศิลปวัฒนาธรรม สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช
http://www.culture.nstru.ac.th/~culturedb/culture.php?cultureCode=1124&cultureTitleT=%A1%D2%C3%C3%D1%A1%C9%D2%BE%D4%C9%A7%D9%B4%E9%C7%C2%CA%C1%D8%B9%E4%BE%C3