Blogger นี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของตัวอย่างการเรียนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันมหาวิทยาลัยมหาสารคามแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดขอนแก่นและทุกคนที่สนใจก็สามารถที่จะเข้ามาศึกษาหาข้อมูลได้ก่อนที่จะเดินทางไปเที่ยว ณ สถานที่แห่งนี้ได้































คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

งูจงอาง

งูจงอาง (King cobra) มีความยาวเฉลี่ย 3.7 เมตร มีลูกตาสีน้ำตาลอำพัน ลำตัวสีเขียวอมเทา หรือ น้ำตาลมีลายปล้องสีเหลืองคาด เมื่อถูกรบกวนจะชูคอ ยกตัวสูง และขยายแผงคอออก ที่เรียกกันว่า แผ่แม่เบี้ย มีนิสัยว่องไว ไม่ชอบความร้อน ชอบนอนตามที่เย็นๆ เช่น กอไผ่ โพรงไม้ ซอกหิน พบชุกชุมตามป่าเกือบทุกภาคของประเทศไทย

ปกติงูจงอางไม่ใช่งูที่ดุร้าย แต่มีพิษรุนแรงต่อระบบประสาทและระบบเลือด เป็นพิษชนิดเดียวกับงูเห่า สามารถฉกกัดในระยะไม่เกิน 1.8 เมตร ไม่สามารถพ่นพิษได้เหมือนงูเห่า




ที่มา http://202.143.137.103/snake/index.html

โรงเพาะเลี้ยงงู

การเลี้ยงงูที่บ้านโคกสง่า เป็นการเลี้ยงงูเยี่ยงสัตว์เลี้ยงไว้ใต้ถุนบ้านเกือบทุกหลังคาเรือน สามารถจับมาแสดงได้ ผู้แสดงต้องใช้ความสามารถ และความชำนาญเป็นพิเศษ ระบบการเลี้ยงงูเป็นไปในลักษณะ เจ้าของงูต่างคนต่างเลี้ยงไว้ในลังกระบะที่บ้านตนเอง เมื่อเจ้าของนำออกมาจากลังกระบะ งูจะเลื้อยออกมา และแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติของมัน เช่น การชูหัวแผ่แม่เบี้ย เพื่อป้องกันตัว และข่มขู่เมื่อถูกล่อ มิใช่แสดงการละเล่นที่เจ้าของฝึกฝนให้แสดงตามใจได้เหมือนการแสดงของช้าง หรือลิง นักเร่ขายยาสมุนไพรของบ้านนี้ มีใจกล้าหาญพอที่จะเสี่ยงชีวิตท้าทายกับอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นทุกเสี้ยววินาที ของการแสดง

เนื่องจากมีการจับงูมาแสดงมากขึ้น การแสดงก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพงูในระยะยาวได้ เหตุนี้จึงเป็นที่มาของโครงการขยายพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์งูจงอาง โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ต่างมีความเห็นตรงกันที่จะให้มีการขยายพันธุ์งูรวมถึงการเลี้ยงงูให้ใกล้ธรรมชาติ จึงมีการสร้างโรงเพาะพันธุ์งูจงอางขึ้นที่บริเวณวัดศรีธรรมา อันเป็นวัดประจำหมู่บ้านโคกสง่า ทำให้งูจงอางได้อยู่ใกล้เคียงธรรมชาติมากยิ่งขึ้น และเป็นสถานที่ศึกษาเรื่องราวของงูจงอางแห่งหนึ่งของประเทศไทย


ที่มา http://202.143.137.103/snake/index2.html

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

สถานที่ตั้งและการเดินทาง

หมู่บ้านงู จงอางหรือบ้านโคกสง่า ตั้งอยู่ตำบลทรายมูล อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ห่างจากตัว
จังหวัดประมาณ 50 กิโลเมตร จากอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ใช้เส้นทางถนนมิตรภาพ (เส้นทางหมายเลข
2 ) ไปทางอุดรธานี ถึงหลัก กิโลเมตร ที่ 33 เลี้ยวขวาไปทางอำเภอกระนวน เส้นทางหมายเลข 2039 (น้ำพอง
- กระนวน) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 14 ทางแยกเข้าบ้านโคกสง่า มีป้ ายชื่อหมู่บ้านงูจงอาง เลี้ยวขวาผ่านวัด
สระแก้ว บ้านนางาม เลี้ยวซ้ายถึงบ้านโคกสง่า หรือจากจังหวัดขอนแก่น เข้าเส้นทางหมายเลข 209 ทางไป
จังหวัดกาฬสินธุ์ ระยะทาง 12 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางหมายเลข 2183, 2008, 2081, 2039 เส้นทาง
ขอนแก่น - กระนวน จากหลักกิโลเมตรที่ 14 เลี้ยวขวาประมาณ 2 กิโลเมตร เข้าหมู่บ้านโคกสง่าทางซ้ายมือ
เป็นที่ตั้งชมรมหมู่บ้านงูจงอางบ้านโคกสง่า ประธานชมรม คือ นายทา บุตตา เป็นสถานที่จัดแสดงงูจงอาง
ให้นักท่องเที่ยวชมอีกแห่งหนึ่ง ประธานชมรมคือ นายประยูร ยงลา
การแสดงงู จงอาง จัดแสดงบนเวทีมวย การแสดงเริ่มจากโชว์ฝูงงูจงอาง การแสดงละครงูจงอางตาม
จังหวะเพลง และการแสดงความสามารถพิเศษ เช่น หอมก้ม และสบตางูจงอาง ใช้คางและหน้าผาก วางบน
แม่เบี้ยงูจงอาง ยกชูคอ แผ่แม่เบี้ยเหนือศรีษะ อมหัวงูให้งูเลื้อยเข้าไปในกางเอง เอางูพันรอบคอ และลำตัว
และการแสดงศิลปะการต่อสู้ระหว่างคนกับงูจงอาง หรือเรียกว่า ชกมวยกับงู นักท่องเที่ยวสามารถเดินทาง
มาทัศนศึกษาที่หมู่บ้านงูจงอางได้ทุกวันไม่เว้น วันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 07.00 - 17.00
น. ชมนิทรรศการงูและศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของงูจงอางในโรงเรือนเพาะพันธุ์งู จงอาง ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก
5 บาท กรณีเดินทางมาเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หากต้องการชมการแสดงชมรมงูจงอางได้จัดเจ้าหน้าที่และนักแสดง
ประจำเวทีสามารถ จัดแสดงให้ชมได้ตามความต้องการ โดยแจ้งชาวบ้านให้จัดแสดง และตกลงราคาแต่ละ
รายไป หากเดินทางเป็นหมู่คณะใหญ่ ๆ สามารถแจ้งล่วงหน้าได้ที่ประธานชมรมงูจงอางแห่งประเทศไทย
หรือชมรมงูจงอาง บ้านโคกสง่า


ที่มา http://recmert.kku.ac.th/webthai/administrator/file/tourist/jongangvillage.pdf

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

การรักษาพิษงูด้วยสมุนไพร

  • วิธีการรักษาขั้นตอนในการรักษา ขั้นที่ 1 การดูผู้ป่วยว่าถูกงูพิษชนิดใดกัด โดยดูจากรอยเขี้ยว และสังเกตอาการของผู้ป่วย
    1.1 งูพิษที่ทำลายระบบประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการหลังจากถูกกัดประมาณ 10 นาที โดยมีลักษณะ หนังตาตก ขากรรไกรแข็ง พูดไม่ชัด กลืนน้ำลายไม่ได้ อ่อนเพลีย แน่นหน้าอก หายใจขัดจนหายใจไม่ออกในที่สุด ซึ่งพิษเหล่านี้เกิดจากงูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงขวา งูกล่อมนางนอน
1.2 งูพิษที่ทำลายระบบกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยจะแสดงอาการหลังถูกกัด 1 ชั่วโมง ขึ้นไป โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดมาก เมื่อยมากบริเวณกล้ามเนื้อที่ถูกกัด บางรายเป็นอัมพาต ซึ่งพิษเหล่านี้เกิดจากงูทะเลชนิดต่าง ๆ
1.3 งูพิษที่ทำลายระบบโลหไต ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมาก บริเวณที่ถูกกัด มีเลือดซึมใต้ผิวหนัง ซ้ำเป็นรอยเล็กใหญ่ มีเลือดซึมตามรอยเขียวที่ถูกกัด เลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะอุจจาระเป็นเลือด อาเจียรเป็นเลือด แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก พูดไม่ชัด ขากรรไกรแข็ง ตายช้า ซึ่งพิษเหล่านี้เกิดจากงูกะปะ งูแมวเซา งูเขียวหางไหม้
ขั้นที่ 2 รักษาผู้ป่วยตามชนิดของงู
  • ประโยชน์
1. การตั้งสถานรักษาพิษงู วัดพรหมโลก ช่วยชีวิตผู้ป่วยที่ถูกงูพิษหรือสัตว์มีพิษอื่นกัดได้จำนวนมาก
2. สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีฐานะยากจนได้ไม่ต้องเดินทางไปรักษาพิษงูที่โรงพยาบาล ซึ่งมีค่าใช้จ่ายแพง
3. เป็นการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการรักษาพยาบาล

ที่มา :  สำนักศิลปวัฒนาธรรม สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช
 http://www.culture.nstru.ac.th/~culturedb/culture.php?cultureCode=1124&cultureTitleT=%A1%D2%C3%C3%D1%A1%C9%D2%BE%D4%C9%A7%D9%B4%E9%C7%C2%CA%C1%D8%B9%E4%BE%C3




กระชาย

  กระชายมีรสเผ็ดร้อน สาระสำคัญในรากและเหง้ากระชายมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก
         1. แก้บิด ท้องร่วง ท้องเสีย นำรากกระชายย่างไฟ ตำให้ละเอียด ผสมน้ำปูนใสคั้นเอาแต่น้ำดื่ม
         2. รักษาโรคริดสีดวงทวาร ต้มกระชายพร้อมมะขามเปียก เติมเกลือแกงเล็กน้อย รับประทานก่อนนอนทุกวัน
         3. ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ตำรากกระชาย 1 กำมือให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำผึ้ง รับประทานก่อนอาหารเย็น    4. ช่วยบำรุงหัวใจ กระตุ้นให้หัวใจเต้นสม่ำเสมอ นำกระชายแห้งบดให้เป็นผงละลายกับน้ำร้อน
         5. นำรากกระชาย ตะไคร้ หอมแดง ข่า ใบสะเดาแก่ ตำผสมกัน ใช้ฉีดบริเวณที่มีแมลงรบกวน
         6. บำบัดโรคกระเพาะ กินรากสดแง่งเท่านิ้วก้อยไม่ต้องปอกเปลือก วันละ 3 มื้อ ก่อนอาหาร 15 นาที สัก 3 วัน ถ้ากินได้ให้กินจนครบ 2 สัปดาห์ ถ้าเผ็ดร้อนเกินไปหลังวันที่ 3 ให้กินขมิ้นสดปอกเปลือกขนาดเท่ากับ 2 ข้อนิ้วก้อยจนครบ 2 สัปดาห์
         7.บรรเทาอาการแผลในปาก ปั่นรากกระชายทั้งเปลือก 2 แง่งกับน้ำสะอาด 1 แก้วในโถปั่นน้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนกาแฟโบราณ กรองด้วยผ้าขาวบาง ใช้กลั้วปากวันละ 3 เวลาจนกว่าแผลจะหาย ถ้าเฝื่อนเกินไปให้เติมน้ำสุกได้อีก ส่วนที่ยังไม่ได้แบ่งใช้เก็บในตู้เย็นได้ 1 วัน
         8. แก้ฝ้าขาวในปาก บดรากกระชายที่ล้างสะอาด ไม่ต้องปอกเปลือก ในโถปั่นพอหยาบ ใส่ขวดปิดฝาแช่ไว้ในตู้เย็น กินก่อนอาหารครั้งละ 1 ช้อนกาแฟเล็ก (เหมือนที่เขาใช้คนกาแฟโบราณ) วันละ 3 มื้อก่อนอาหาร 15 นาที สัก 7 วัน
 9. ฤทธิ์แก้กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า คันศีรษะจากเชื้อรา นำรากกระชายทั้งเปลือกมาล้างผึ่งให้แห้ง ฝานเป็นแว่น แล้วบดให้เป็นผงหยาบ เอาน้ำมันพืช (อาจใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวก็ได้) มาอุ่นในหม้อใบเล็กๆ เติมผงกระชายใช้น้ำมัน 3 เท่าของปริมาณกระชาย หุง (คนไปคนมาอย่าให้ไหม้) ไฟอ่อนๆ ไปสักพักราว 15-20 นาที กรองกระชายออก เก็บน้ำมันไว้ในขวดแก้วสีชาใช้ทาแก้กลาก เกลื้อน
         10. แก้คันศีรษะจากเชื้อรา ให้เอาน้ำมันดังกล่าวไปเข้าสูตรทำแชมพูสระผมสูตรน้ำมันจากที่ไหนก็ได้ โดยใช้แทนน้ำมันมะพร้าวในสูตร ประหยัดเงินและได้ภูมิใจกับภูมิปัญญาไทย หรือจะใช้น้ำมันกระชายโกรกผม ให้เพิ่มปริมาณน้ำมันพืชอีก 1 เท่าตัว โกรกด้วยน้ำมันกระชายสัก 5 นาที นวดให้เข้าหนังศีรษะ แล้วจึงสระผมล้างออก
         11. ฤทธิ์เป็นยาอายุวัฒนะ ผงกระชายทั้งเปลือกบดตากแห้งปั้นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง กินวันละ 3 ลูกก่อนเข้านอน ตำรับนี้เคยมีผู้รายงานว่าใช้ลดน้ำตาลในเลือดได้ หรือใช้กระชายตากแห้งบดผงบรรจุแคปซูล แคปซูลละ 250 มิลลิกรัม กินวันละ 1 แคปซูลตอนเช้าก่อนอาหารเช้าในสัปดาห์แรก วันละ 2 แคปซูลตอนเช้าในสัปดาห์ที่ 2
ที่มา : http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2

เกล็ดนาคราช

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    ไม้ล้มลุก เลื้อยเกาะอิงอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น ลำต้นเรียวเล็ก ลำต้นเป็นข้อ มีรากงอกออกมาตามข้อ ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ออกเป็นคู่ ตามข้อของลำต้น รูปโล่คล้ายกระทะคว่ำ กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 1.5-4 เซนติเมตร ท้องใบสีแดงคล้ำ ขอบสีเขียว ขอบใบมักเกยเล็กน้อย ผิวเนื้อใบเป็นตุ่ม เหมือนกับมีถุงลมอยู่ข้างใน อวบน้ำ ดอกช่อกระจะ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อย 1-4 ดอก ขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวนวลหรือเหลืองอ่อน โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปไข่แกมคนโท ข้างในกลีบมีขน เกสรตัวผู้มี 5 อัน เชื่อมติดกัน ผลเป็นฝักแตกตะเข็บเดียว รูปทรงกระบอก เมล็ดจำนวนมาก สีน้ำตาล มีกระจุกขนยาวเป็นพู่สีขาวคล้ายเส้นไหม พบตามป่าเบญจพรรณทั่วไป
สรรพคุณ  
ยาพื้นบ้านอีสาน  ใช้  ทั้งต้น เป็นยาเย็น แช่น้ำอาบ แก้ไข้
ตำรายาไทย  ใช้  ทั้งต้น แก้อักเสบปวดบวม ทั้งต้น ใช้เป็นยาถอนพิษไข้ พิษไข้กาฬ พิษตานซาง ใช้ภายนอกแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ใบสด นำมาตำให้ละเอียด นำมาพอกบริเวณแผลพุพอง
ยาพื้นบ้านล้านนา  ใช้  น้ำคั้นจากใบ ทาแก้กลากเกลื้อน
ที่มา  http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=16