Blogger นี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของตัวอย่างการเรียนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันมหาวิทยาลัยมหาสารคามแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดขอนแก่นและทุกคนที่สนใจก็สามารถที่จะเข้ามาศึกษาหาข้อมูลได้ก่อนที่จะเดินทางไปเที่ยว ณ สถานที่แห่งนี้ได้































คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

งูจงอาง

งูจงอาง (King cobra) มีความยาวเฉลี่ย 3.7 เมตร มีลูกตาสีน้ำตาลอำพัน ลำตัวสีเขียวอมเทา หรือ น้ำตาลมีลายปล้องสีเหลืองคาด เมื่อถูกรบกวนจะชูคอ ยกตัวสูง และขยายแผงคอออก ที่เรียกกันว่า แผ่แม่เบี้ย มีนิสัยว่องไว ไม่ชอบความร้อน ชอบนอนตามที่เย็นๆ เช่น กอไผ่ โพรงไม้ ซอกหิน พบชุกชุมตามป่าเกือบทุกภาคของประเทศไทย

ปกติงูจงอางไม่ใช่งูที่ดุร้าย แต่มีพิษรุนแรงต่อระบบประสาทและระบบเลือด เป็นพิษชนิดเดียวกับงูเห่า สามารถฉกกัดในระยะไม่เกิน 1.8 เมตร ไม่สามารถพ่นพิษได้เหมือนงูเห่า




ที่มา http://202.143.137.103/snake/index.html

โรงเพาะเลี้ยงงู

การเลี้ยงงูที่บ้านโคกสง่า เป็นการเลี้ยงงูเยี่ยงสัตว์เลี้ยงไว้ใต้ถุนบ้านเกือบทุกหลังคาเรือน สามารถจับมาแสดงได้ ผู้แสดงต้องใช้ความสามารถ และความชำนาญเป็นพิเศษ ระบบการเลี้ยงงูเป็นไปในลักษณะ เจ้าของงูต่างคนต่างเลี้ยงไว้ในลังกระบะที่บ้านตนเอง เมื่อเจ้าของนำออกมาจากลังกระบะ งูจะเลื้อยออกมา และแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติของมัน เช่น การชูหัวแผ่แม่เบี้ย เพื่อป้องกันตัว และข่มขู่เมื่อถูกล่อ มิใช่แสดงการละเล่นที่เจ้าของฝึกฝนให้แสดงตามใจได้เหมือนการแสดงของช้าง หรือลิง นักเร่ขายยาสมุนไพรของบ้านนี้ มีใจกล้าหาญพอที่จะเสี่ยงชีวิตท้าทายกับอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นทุกเสี้ยววินาที ของการแสดง

เนื่องจากมีการจับงูมาแสดงมากขึ้น การแสดงก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพงูในระยะยาวได้ เหตุนี้จึงเป็นที่มาของโครงการขยายพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์งูจงอาง โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ต่างมีความเห็นตรงกันที่จะให้มีการขยายพันธุ์งูรวมถึงการเลี้ยงงูให้ใกล้ธรรมชาติ จึงมีการสร้างโรงเพาะพันธุ์งูจงอางขึ้นที่บริเวณวัดศรีธรรมา อันเป็นวัดประจำหมู่บ้านโคกสง่า ทำให้งูจงอางได้อยู่ใกล้เคียงธรรมชาติมากยิ่งขึ้น และเป็นสถานที่ศึกษาเรื่องราวของงูจงอางแห่งหนึ่งของประเทศไทย


ที่มา http://202.143.137.103/snake/index2.html

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

สถานที่ตั้งและการเดินทาง

หมู่บ้านงู จงอางหรือบ้านโคกสง่า ตั้งอยู่ตำบลทรายมูล อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ห่างจากตัว
จังหวัดประมาณ 50 กิโลเมตร จากอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ใช้เส้นทางถนนมิตรภาพ (เส้นทางหมายเลข
2 ) ไปทางอุดรธานี ถึงหลัก กิโลเมตร ที่ 33 เลี้ยวขวาไปทางอำเภอกระนวน เส้นทางหมายเลข 2039 (น้ำพอง
- กระนวน) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 14 ทางแยกเข้าบ้านโคกสง่า มีป้ ายชื่อหมู่บ้านงูจงอาง เลี้ยวขวาผ่านวัด
สระแก้ว บ้านนางาม เลี้ยวซ้ายถึงบ้านโคกสง่า หรือจากจังหวัดขอนแก่น เข้าเส้นทางหมายเลข 209 ทางไป
จังหวัดกาฬสินธุ์ ระยะทาง 12 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางหมายเลข 2183, 2008, 2081, 2039 เส้นทาง
ขอนแก่น - กระนวน จากหลักกิโลเมตรที่ 14 เลี้ยวขวาประมาณ 2 กิโลเมตร เข้าหมู่บ้านโคกสง่าทางซ้ายมือ
เป็นที่ตั้งชมรมหมู่บ้านงูจงอางบ้านโคกสง่า ประธานชมรม คือ นายทา บุตตา เป็นสถานที่จัดแสดงงูจงอาง
ให้นักท่องเที่ยวชมอีกแห่งหนึ่ง ประธานชมรมคือ นายประยูร ยงลา
การแสดงงู จงอาง จัดแสดงบนเวทีมวย การแสดงเริ่มจากโชว์ฝูงงูจงอาง การแสดงละครงูจงอางตาม
จังหวะเพลง และการแสดงความสามารถพิเศษ เช่น หอมก้ม และสบตางูจงอาง ใช้คางและหน้าผาก วางบน
แม่เบี้ยงูจงอาง ยกชูคอ แผ่แม่เบี้ยเหนือศรีษะ อมหัวงูให้งูเลื้อยเข้าไปในกางเอง เอางูพันรอบคอ และลำตัว
และการแสดงศิลปะการต่อสู้ระหว่างคนกับงูจงอาง หรือเรียกว่า ชกมวยกับงู นักท่องเที่ยวสามารถเดินทาง
มาทัศนศึกษาที่หมู่บ้านงูจงอางได้ทุกวันไม่เว้น วันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 07.00 - 17.00
น. ชมนิทรรศการงูและศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของงูจงอางในโรงเรือนเพาะพันธุ์งู จงอาง ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก
5 บาท กรณีเดินทางมาเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หากต้องการชมการแสดงชมรมงูจงอางได้จัดเจ้าหน้าที่และนักแสดง
ประจำเวทีสามารถ จัดแสดงให้ชมได้ตามความต้องการ โดยแจ้งชาวบ้านให้จัดแสดง และตกลงราคาแต่ละ
รายไป หากเดินทางเป็นหมู่คณะใหญ่ ๆ สามารถแจ้งล่วงหน้าได้ที่ประธานชมรมงูจงอางแห่งประเทศไทย
หรือชมรมงูจงอาง บ้านโคกสง่า


ที่มา http://recmert.kku.ac.th/webthai/administrator/file/tourist/jongangvillage.pdf

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

การรักษาพิษงูด้วยสมุนไพร

  • วิธีการรักษาขั้นตอนในการรักษา ขั้นที่ 1 การดูผู้ป่วยว่าถูกงูพิษชนิดใดกัด โดยดูจากรอยเขี้ยว และสังเกตอาการของผู้ป่วย
    1.1 งูพิษที่ทำลายระบบประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการหลังจากถูกกัดประมาณ 10 นาที โดยมีลักษณะ หนังตาตก ขากรรไกรแข็ง พูดไม่ชัด กลืนน้ำลายไม่ได้ อ่อนเพลีย แน่นหน้าอก หายใจขัดจนหายใจไม่ออกในที่สุด ซึ่งพิษเหล่านี้เกิดจากงูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงขวา งูกล่อมนางนอน
1.2 งูพิษที่ทำลายระบบกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยจะแสดงอาการหลังถูกกัด 1 ชั่วโมง ขึ้นไป โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดมาก เมื่อยมากบริเวณกล้ามเนื้อที่ถูกกัด บางรายเป็นอัมพาต ซึ่งพิษเหล่านี้เกิดจากงูทะเลชนิดต่าง ๆ
1.3 งูพิษที่ทำลายระบบโลหไต ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมาก บริเวณที่ถูกกัด มีเลือดซึมใต้ผิวหนัง ซ้ำเป็นรอยเล็กใหญ่ มีเลือดซึมตามรอยเขียวที่ถูกกัด เลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะอุจจาระเป็นเลือด อาเจียรเป็นเลือด แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก พูดไม่ชัด ขากรรไกรแข็ง ตายช้า ซึ่งพิษเหล่านี้เกิดจากงูกะปะ งูแมวเซา งูเขียวหางไหม้
ขั้นที่ 2 รักษาผู้ป่วยตามชนิดของงู
  • ประโยชน์
1. การตั้งสถานรักษาพิษงู วัดพรหมโลก ช่วยชีวิตผู้ป่วยที่ถูกงูพิษหรือสัตว์มีพิษอื่นกัดได้จำนวนมาก
2. สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีฐานะยากจนได้ไม่ต้องเดินทางไปรักษาพิษงูที่โรงพยาบาล ซึ่งมีค่าใช้จ่ายแพง
3. เป็นการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการรักษาพยาบาล

ที่มา :  สำนักศิลปวัฒนาธรรม สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช
 http://www.culture.nstru.ac.th/~culturedb/culture.php?cultureCode=1124&cultureTitleT=%A1%D2%C3%C3%D1%A1%C9%D2%BE%D4%C9%A7%D9%B4%E9%C7%C2%CA%C1%D8%B9%E4%BE%C3




กระชาย

  กระชายมีรสเผ็ดร้อน สาระสำคัญในรากและเหง้ากระชายมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก
         1. แก้บิด ท้องร่วง ท้องเสีย นำรากกระชายย่างไฟ ตำให้ละเอียด ผสมน้ำปูนใสคั้นเอาแต่น้ำดื่ม
         2. รักษาโรคริดสีดวงทวาร ต้มกระชายพร้อมมะขามเปียก เติมเกลือแกงเล็กน้อย รับประทานก่อนนอนทุกวัน
         3. ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ตำรากกระชาย 1 กำมือให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำผึ้ง รับประทานก่อนอาหารเย็น    4. ช่วยบำรุงหัวใจ กระตุ้นให้หัวใจเต้นสม่ำเสมอ นำกระชายแห้งบดให้เป็นผงละลายกับน้ำร้อน
         5. นำรากกระชาย ตะไคร้ หอมแดง ข่า ใบสะเดาแก่ ตำผสมกัน ใช้ฉีดบริเวณที่มีแมลงรบกวน
         6. บำบัดโรคกระเพาะ กินรากสดแง่งเท่านิ้วก้อยไม่ต้องปอกเปลือก วันละ 3 มื้อ ก่อนอาหาร 15 นาที สัก 3 วัน ถ้ากินได้ให้กินจนครบ 2 สัปดาห์ ถ้าเผ็ดร้อนเกินไปหลังวันที่ 3 ให้กินขมิ้นสดปอกเปลือกขนาดเท่ากับ 2 ข้อนิ้วก้อยจนครบ 2 สัปดาห์
         7.บรรเทาอาการแผลในปาก ปั่นรากกระชายทั้งเปลือก 2 แง่งกับน้ำสะอาด 1 แก้วในโถปั่นน้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนกาแฟโบราณ กรองด้วยผ้าขาวบาง ใช้กลั้วปากวันละ 3 เวลาจนกว่าแผลจะหาย ถ้าเฝื่อนเกินไปให้เติมน้ำสุกได้อีก ส่วนที่ยังไม่ได้แบ่งใช้เก็บในตู้เย็นได้ 1 วัน
         8. แก้ฝ้าขาวในปาก บดรากกระชายที่ล้างสะอาด ไม่ต้องปอกเปลือก ในโถปั่นพอหยาบ ใส่ขวดปิดฝาแช่ไว้ในตู้เย็น กินก่อนอาหารครั้งละ 1 ช้อนกาแฟเล็ก (เหมือนที่เขาใช้คนกาแฟโบราณ) วันละ 3 มื้อก่อนอาหาร 15 นาที สัก 7 วัน
 9. ฤทธิ์แก้กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า คันศีรษะจากเชื้อรา นำรากกระชายทั้งเปลือกมาล้างผึ่งให้แห้ง ฝานเป็นแว่น แล้วบดให้เป็นผงหยาบ เอาน้ำมันพืช (อาจใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวก็ได้) มาอุ่นในหม้อใบเล็กๆ เติมผงกระชายใช้น้ำมัน 3 เท่าของปริมาณกระชาย หุง (คนไปคนมาอย่าให้ไหม้) ไฟอ่อนๆ ไปสักพักราว 15-20 นาที กรองกระชายออก เก็บน้ำมันไว้ในขวดแก้วสีชาใช้ทาแก้กลาก เกลื้อน
         10. แก้คันศีรษะจากเชื้อรา ให้เอาน้ำมันดังกล่าวไปเข้าสูตรทำแชมพูสระผมสูตรน้ำมันจากที่ไหนก็ได้ โดยใช้แทนน้ำมันมะพร้าวในสูตร ประหยัดเงินและได้ภูมิใจกับภูมิปัญญาไทย หรือจะใช้น้ำมันกระชายโกรกผม ให้เพิ่มปริมาณน้ำมันพืชอีก 1 เท่าตัว โกรกด้วยน้ำมันกระชายสัก 5 นาที นวดให้เข้าหนังศีรษะ แล้วจึงสระผมล้างออก
         11. ฤทธิ์เป็นยาอายุวัฒนะ ผงกระชายทั้งเปลือกบดตากแห้งปั้นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง กินวันละ 3 ลูกก่อนเข้านอน ตำรับนี้เคยมีผู้รายงานว่าใช้ลดน้ำตาลในเลือดได้ หรือใช้กระชายตากแห้งบดผงบรรจุแคปซูล แคปซูลละ 250 มิลลิกรัม กินวันละ 1 แคปซูลตอนเช้าก่อนอาหารเช้าในสัปดาห์แรก วันละ 2 แคปซูลตอนเช้าในสัปดาห์ที่ 2
ที่มา : http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2

เกล็ดนาคราช

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    ไม้ล้มลุก เลื้อยเกาะอิงอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น ลำต้นเรียวเล็ก ลำต้นเป็นข้อ มีรากงอกออกมาตามข้อ ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ออกเป็นคู่ ตามข้อของลำต้น รูปโล่คล้ายกระทะคว่ำ กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 1.5-4 เซนติเมตร ท้องใบสีแดงคล้ำ ขอบสีเขียว ขอบใบมักเกยเล็กน้อย ผิวเนื้อใบเป็นตุ่ม เหมือนกับมีถุงลมอยู่ข้างใน อวบน้ำ ดอกช่อกระจะ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อย 1-4 ดอก ขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวนวลหรือเหลืองอ่อน โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปไข่แกมคนโท ข้างในกลีบมีขน เกสรตัวผู้มี 5 อัน เชื่อมติดกัน ผลเป็นฝักแตกตะเข็บเดียว รูปทรงกระบอก เมล็ดจำนวนมาก สีน้ำตาล มีกระจุกขนยาวเป็นพู่สีขาวคล้ายเส้นไหม พบตามป่าเบญจพรรณทั่วไป
สรรพคุณ  
ยาพื้นบ้านอีสาน  ใช้  ทั้งต้น เป็นยาเย็น แช่น้ำอาบ แก้ไข้
ตำรายาไทย  ใช้  ทั้งต้น แก้อักเสบปวดบวม ทั้งต้น ใช้เป็นยาถอนพิษไข้ พิษไข้กาฬ พิษตานซาง ใช้ภายนอกแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ใบสด นำมาตำให้ละเอียด นำมาพอกบริเวณแผลพุพอง
ยาพื้นบ้านล้านนา  ใช้  น้ำคั้นจากใบ ทาแก้กลากเกลื้อน
ที่มา  http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=16

เสลดพังพอน

เสลดพังพอนตัวเมีย รักษาโรคผิวหนัง รักษาพิษงู โรคเริม โรคงูสวัด ฝี แผล แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก คางทูม ผดผื่นคัน
เสลดพังพอนตัวเมียในพื้นที่ต่างๆ จะมีชื่อเรียกต่างงงๆ กันไปกันไป เช่น พญายอ พญาปล้องทอง พญาปล้องคำ จะเห็นได้ว่า เสลดพังพอนตัวเมียเป็นพฤกษามีศักดิ์สูง จึงมีบรรดาศักดิ์นำหน้า "พญา" เมื่อต้นแก่จัดจะมีข้อปล้องเป็นสีเหลืองทอง มีบางถิ่นเรียกสมุนไพรตัวนี้ว่า ผักมันไก่ และผักลิ้นเขียดก็มี ถือว่าเป็นตระกูลเดียวกันหมด

เสลดพังพอนไม่ใช่สมุนไพรโนเนม มีสรรพคุณเลื่องลือเล่ากันมาช้านาน กลายเป็นตำนานยา คนแต่ก่อนถึงกับเชื่อกันว่า สมุนไพรตัวนี้สามารถแก้พิษงูได้ ฉายาเสลดพังพอนก็คงมาจากฤทธิ์พิศดารนี่เอง
เสลดพังพอนตัวเมีย นับเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณเด่นมากทางผิวหนัง โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เริ่มมีการใช้สมุนไพรเสลดพังพอนตัวเมียครั้งแรก ในการรักษาโรคเริม งูสวัด แผลในปาก มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 ในรูปแบบของทิงเจอร์และกลีเซอรีน ซึ่งนับว่าเป็นโรงพยาบาลแห่งแรก ที่มีการนำสารสกัดจากสมุนไพรเสลดพังพอนตัวเมียมาใช้

ก่อนที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จะทำการพัฒนายาเตรียมจากเสลดพังพอนตัวเมีย(Clinacantus nutans Lindau) นั้น ได้ทำการรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับเสลดพังพอนในทุกๆ ด้าน ในยุคนั้นพบว่า มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อยู่น้อยมาก ชาวบ้านแถบภาคเหนือใช้กินเป็นอาหาร นิยมใส่แกงแคเรียกชื่อตามท้องถิ่นว่าผักมันไก่หรือผักลิ้นเขียด ชาวบ้านใช้เสลดพังพอน เยียวยาอาการต่างๆ

สมุนไพรแก้พิษงู


ชื่อสมุนไพร เกล็ดนาค
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dischidia imbricata Warb.
ชื่ออื่น กีบม้าลม เกล็ดนาคราช เบี้ยไม้
ชื่อวงค์ ASCLEPIADACEAE 
ชื่อพ้อง 
ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา หัว เหง้า ต้น เถา ใบ
สรรพคุณตามตำรายาไทย เหง้า แก้พิษสัตว์ กัดต่อย หัว แก้พิษงู ถอนพิษงู แก้พิษตะขาบ แมงป่องเถา ถอนพิษสัตว์มีพิษขบกัด แก้ฝีพิษใบ ตำพอกโรคพุพอง

ชื่อสมุนไพร เกล็ดนาคราช
ชื่อวิทยาศาสตร์ Davallia denticulata Mett.
ชื่ออื่น เถาเกล็ดนาคราช เฟิร์น Fern
ชื่อวงค์ POLYPODIACEAE
ชื่อพ้อง 
ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา หัว เถา 
สรรพคุณตามตำรายาไทย หัว แก้พิษงู ถอนพิษงู ทาบาดแผล แก้พิษตะขาบ แมงป่อง เถา แก้พิษตะขาบ แมงป่อง แก้พิษงู และถอนพิษต่าง ๆ

ชื่อสมุนไพร เสลดพังพอน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Barleria lupulina Lindl. 
ชื่ออื่น ชองระอา เช็กเชเกี่ยม พิมเสนต้น เสลดพังพอนตัวผู้
ชื่อวงค์ ACANTHACEAE
ชื่อพ้อง 
ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา หัว ราก ต้น ใบ ทั้งต้น เถา ไม่ระบุส่วนที่ใช้
สรรพคุณตามตำรายาไทย หัว แก้พิษงู ถอนพิษงู แก้พิษตะขาบ แมงป่อง ราก แก้พิษตะขาบ แมลงป่อง พิษงูกัด ต้น แก้พิษงู ใบ แก้พิษงู ทั้งต้น แก้งูพิษทุกชนิดกัด เถา ถอนพิษ แก้พิษฝี แก้บวมอักเสบ แก้พิษแมลงกัดต่อย พิษตะขาบ แมลงป่อง แก้พิษงู ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้พิษงู


ชื่อสมุนไพร กระชาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.
ชื่ออื่น กะแอน จิ๊ป ซีฟู เป๊าซะเร๊าะ เป๊าสี่ระแอน ว่านพระอาทิตย์
ชื่อวงค์ ZINGIBERACEAE
ชื่อพ้อง B. pandurata (Roxb.) Schltr., Gastrochillus panduratus (Ridl.) Schltr.
ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา หัว ใบ ไม่ระบุส่วนที่ใช้
สรรพคุณตามตำรายาไทย หัว ตำพอก ใบ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่าง ๆ


ที่มา : กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

ข้อมูลทั่วไป

งู (อังกฤษ: Snake) เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่นงูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน[1]
โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (Vipers) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่นงูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไปของงู จะทำการลอกคราบเป็นระยะเวลา และจะบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด
สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ
  1. งูที่มีพิษ โดยอาศัยอยู่บนบก จำนวน 24 ชนิด
  2. งูที่มีพิษ โดยอาศัยอยู่ในทะเล จำนวน 22 ชนิด
ซึ่งโดยรวมแล้วงูที่มีพิษนั้น ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ งูที่มีพิษต่อระบบประสาทและงูที่มีพิษต่อระบบโลหิต

ลักษณะทั่วไปของงู

ลักษณะโดยทั่วไปของงูคือ มีลำตัวที่กลมยาว สามารถบิดโค้งร่างกายได้ ไม่มีหูและไม่มีขา เคลื่อนไหวร่างกายด้วยการเลื้อยด้วยอก งูบางชนิดมีติ่งงอกออกมาคล้ายกับเล็บขนาดเล็ก (Small horn-sheathed claws) ติ่งเล็ก ๆ นี้จะอยู่บริเวณช่องสำหรับเปิดอวัยวะเพศ ลักษณะเฉพาะตั้งแต่ศีรษะ คอ อก ช่องท้องรวมทั้งหาง มีความเหมือนที่ไม่แตกต่างกัน [2] สามารถแบ่งแยกงูได้โดยการใช้ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง ในแต่ละส่วนของขนาดลำตัวเป็นตัวกำหนด ซึ่งในส่วนของขนาดลำตัวจะเป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่โตที่สุด
ลักษณะลำตัวของงู จะมีลักษณะเป็นทรงกระบอกตัน โดยมีภาพตัดขวางของลำตัวในหลากหลายรูปแบบ เช่น ภาพตัดขวางในรูปแบบวงกลม ภาพตัดขวางในรูปแบบวงรี ในลักษณะแนวตั้งหรือแนวนอน รวมทั้งภาพตัดขวางในรูปแบบสามเหลี่ยม ซึ่งลักษณะของภาพตัดขวางที่มีความแตกต่างกันนี้เอง จะเป็นตัวกำหนดแหล่งที่อยู่อาศัยของงูในแต่ละชนิด[2]
ภายในประเทศไทยและอินโด-มลายูมีงูอยู่จำนวนมากกว่า 100 ชนิด เช่นงูหลาม งูเหลือมซึ่งเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ สามารถเจริญเติบโตจนมีความยาวได้ถึง 10 เมตร ซึ่งงูชนิดนี้เป็นงูที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกับอนาคอนดา ซึ่งเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
งูมีจำนวนมากมายหลากหลายชนิด โดยปกติงูจะมีอยู่ชุกชุม สามารถพบเห็นได้ทั่วไปเกือบทั่วทั้งประเทศไทย นอกจากพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งจำนวนประชากรของงูลดน้อยลงเป็นอย่างมาก ซึ่งชนิดของงูนั้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยด้วย เช่นพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่รกชื้น


ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%87%E0%B8%B9

ชนิดของงูพิษและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้นจึงเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของงูพิษหลายชนิด ทำให้มีงูอยู่มากถึง 165 ชนิด ซึ่งจัดเป็นงูพิษ 46 ชนิด เป็นงูพิษที่อาศัยบนบก 24 ชนิด และเป็นงูทะเล 22 ชนิด จากงูพิษทั้งหมดสามารถแบ่งชนิดของงูพิษได้ 3 ชนิดตามอาการของพิษ คือ

• พิษที่มีผลทางระบบประสาท ได้แก่ งูเห่า งูจงอาง และงูสามเหลี่ยม
เป็นต้น พิษของงูเหล่านี้จะแสดงอาการเร็ว คือตั้งแต่ 10 นาที ถึง หลายชั่วโมง ผู้ป่วยจะมีอาการหนังตาตก ขากรรไกรแข็ง พูดไม่ชัด กลืนน้ำลายไม่ได้ แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ตาพร่า อ่อนเพลียในที่สุดเป็นอัมพาต และอาจตายจากการหายใจล้มเหลว


• พิษที่มีผลทางระบบกล้ามเนื้อ ได้แก่ งูทะเลชนิดต่างๆ
มักจะแสดงอาการค่อนข้างช้า ตั้งแต่ครึ่งชั่วโมง ถึงหลายชั่วโมงหลังจากถูกงูกัด บางทีอาจช้าถึง 1 วันได้ ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อขา บางรายอาจเป็นอัมพาตบางส่วน หรืออัมพาตทั้งหมด ปัสสาวะลดลง และสีจะเข้มขึ้นจนคล้ายสีของโคล่า ผู้ป่วยมักเสียชีวิตเนื่องจากไตวายหรือการหายใจล้มเหลว


• พิษที่มีผลทางระบบโลหิต ได้แก่ งูแมวเซา งูกะปะ และงูเขียวหางไหม้
เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบวมบริเวณที่ถูกกัดอย่างเห็นได้ชัดเจนมากกว่างูพิษทาง ระบบประสาท และมีเลือดซึมตามรอยเขี้ยว มีเลือดออกใต้ผิวหนังเห็นเป็นจ้ำๆ มีเลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล ในรายที่รุนแรงจะมีการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะมีเลือดปน อวัยวะภายในตกเลือด มักเสียชีวิตจากอาการไตวาย


ที่มา : http://graphictravelsnake.blogspot.com/

งูมีพิษ

จะมีเขี้ยว 2 อันอยู่ข้างหน้า ถ้าเขี้ยวหักจะสามารถงอกใหม่ได้ จะพบเป็นรอยเขี้ยวได้ แต่ไม่ค่อยพบรอยฟัน มักจะพบเป็นรอยครูดด้วยเสมอ ถ้าเขี้ยวหักจะสามารถงอกเขี้ยวขึ้นมาใหม่ได้ งูประเภท Elapid จะมีเขี้ยวยึดติดแน่นกับ maxilla มีร่องด้านหน้าให้พิษไหลออกมา แต่งูประเภท Viper เขี้ยวจะ movable

งูเห่า (Naja sumatrana, Naja sinensis)

ยาวประมาณ 1.2-2 m พบยาวที่สุดในโลก คือ 2.25 m หัวกลมมน สีต่าง ๆ กัน เกล็ดขนาดใหญ่บนศีรษะ เมื่อถูกรบกวนจะแผ่แม่เบี้ยได้กว้าง สั้น ซึ่งจะสามารถแผ่แม่เบี้ย รวมถึงพ่นพิษได้ตั้งแต่เกิดใหม่ แต่ปริมาณพิษจะน้อยกว่า ที่คอจะมีดอกจันทร์ กลมมน อาศัยอยู่ตามท้องไร่ท้องนา พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย การฉกจะฉกไปด้านหน้าเท่านั้น ไข่ใต้ดิน ปล่อยให้ hatch เอง กัดแล้วหนี จึงมักจะไม่ได้ตัวมาด้วย

งูจงอาง

แผ่แม่เบี้ยได้ แต่ไม่พ่นลมขู่ หัวโต ช่วยกำจัดหนู เขียด และคางคกได้ ปีนต้นไม้ได้แม้หางจะสั้น เกล็ดที่หัวใหญ่ ลายขวางตลอดตัว ว่องไว ปราดเปรียว น้ำพิษจะหนึดมาก จึงกัดแล้วจะย้ำเขี้ยว (lock jaw) จึงมักจะได้ตัว ความรุนแรงของพิษจะน้อยกว่างูเห่า แต่ว่าจะสามารถปล่อยพิษได้ปริมาณมากกว่า เป็นงูป่า จึงมักจะโดนกัดในป่า

งูสามเหลี่ยม

เกล็ดเรียบ อาศัยใกล้แหล่งน้ำ กลางวันจะเซื่องซึม ปราดเปรียวในเวลากลางคืน หางกุดทู่ ความยาวเต็มที่ 2m กินงู กบ เขียด กิ้งก่า จิ้งเหลน ออกลูกเป็นไข่ คนโดนกัดมักจะเป็นพวกที่หาปลาตามชายน้ำ ไม่ค่อยกัดคน กัดเฉพาะเมื่อโดนทำให้เจ็บ และเมื่อกัดมักจะกลับมากัดซ้ำ รอยเขี้ยวเล็ก ไม่มี necrosis

งูทับสมิงคลา

ขนาดเล็ก ยาว 1-1.2m หางเรียว เกล็ดที่หัวใหญ่ พิษรุนแรงมาก ตัวเป็นปล้อง ขาวสลับดำ ปราดเปรียว หากินเวลากลางคืน พบที่จังหวัด ศรีสะเกษ อุบลฯ อุดรฯ สุรินทร์ กินงู โดยเฉพาะงูน้ำเป็นอาหาร เมื่อกัดแล้วจะมีอาการ prolong paralysis ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วค่อย ๆ ดีขึ้น ตัวเล็ก + เขี้ยวเล็ก จึงได้พิษน้อย มีปัญหาในการทำ serum

งูแมวเซา

ขนาดปานกลาง ยาว 1.5 m จมูกใหญ่ เชิดขึ้นไป เมื่อถูกรบกวนจะขด และสูดลม จนตัวพองออก หลางจากนั้นจะพ่นลมออกมา พบเฉพาะบางจังหวัดของไทย มีแต้มเรียงเป็นระเบียบ เกร็ดขนาดเล็ก เกร็ดที่ศีรษะขนาดไม่ใหญ่ ออกลูกเป็นตัว ท้องจะสีครีม มีแต้มเล็ก ๆ ทั่วไป กัดแล้วเกิด bleeding ที่แผล ปวดแผลรุนแรง เกิด bleed ในช่องท้องได้รุนแรง dark brown urine อาจตายจาก renal failure ได้

งูกะปะ

เป็นชนิดเดียวใน neurotoxic ที่มีเกล็ดขนาดใหญ่ที่ศีรษะ ตัวผู้ขนาดเล็กกว่าตัวเมีย พบกระจายทั่วทุกภาคในไทย เมื่อถูกรบกวนจะแผ่แบนราบไปกับพื้น หลังโดนกัดจะเกิดอาการเพียงครึ่งเดียว อาจเกิด delay absorption ได้ ด้านข้างลำตัวมีลายเข้มสามเหลี่ยม โดยปลายแหลมอยู่ที่ spine คอคอด พบโดนกัดในพวกทำสวนยาง กินหนู กิ้งก่า กบ เขียด เป็นอาหาร

งูเขียวหางไหม้

ตัวเขียว (ไม่ใช่ลักษณะจำเพาะ) พบมี Pit Organ เป็นลักษณะจำเพาะ เป็น thermoreceptor ที่ไวมาก เมื่อโดนจบกวน จะแกว่งหาง ไม่มีเสียง พิษรุนแรง โดย งูเขียวหางไหม้ท้องเหลืองจะมีพิษรุนแรงที่สุด คอคอดเล็ก เห็นชัดเจน ตัวผู้มักเห็นทางสีขาว ๆ ข้างลำตัว เกล็ดขนาดเล็ก หากินเวลากลางคืน ตามพื้น กลางวันจะอยู่บนต้นไม้ กินหนู กบ เขียด กิ้งก่า งูเขียวหางไหม้ท้องฟ้า หากินตามพื้นดินในเวลากลางวัน แต่พิษจะอ่อนกว่า

งูทะเล

มีหางเป็นรูปใบพาย งูทะเลหัวดำมีพิษรุนแรงที่สุดในโลก พบโดนกัดได้น้อย
งูไม่สามารถผสมพันธุ์ข้ามพันธุ์ได้ เนื่องจาก มีปัจจัยควบคุม คือ ขนาดของ hemipenis
ที่มา: http://www.followhissteps.com/web_health/snakelec.html

งูไม่มีพิษ

แผลจากการกัดจะไม่มีเขี้ยว พบเป็นรอยฟัน กัดเป็นรอยฟันรูปครึ่งวงกลม

งูเหลือม

เป็นงูป่า ถ้าถูกจับที่คอ จะรัด ซึ่งเป็นสันชาตญาณในการเกาะต้นไม้ ไม่มีพิษ อาจกลืนคนได้ ขนาดใหญ่มาก พบมากในกรุงเทพ เนื่องจากเดิมเคยเป็นป่ามาก่อน รวมถึงสามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ประมาณครั้งละ 50 ฟอง ซึ่งหลังจากวางไข่จะดูแล

งูหลาม

แยกจากงูเหลือม โดยดูลายที่หัว ถ้าเป็นงูเหลือม จะมีสีเดียว

งูสิงห์

มีประโยชน์แก่คน ช่วยกินหนู รวมถึงสัตว์แทะต่าง ๆ ซึ่งสามารถคุมปริมาณของหนูได้ดีมาก เป็นหมื่น ต่อปี แม้ว่าจะสามารถกินหนูได้น้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ตัว (หนูเพิ่มปริมาณได้ประมาณคอกละ 15 ตัว ตั้งครรภ์ประมาณ 3 สัปดาห์) เดิมหนูจะมีสิ่งควบคุม คือ นกฮูก และ นกเค้าแมว

งูแสงอาทิตย์

ตาเล็ก เห็นไม่ชัด ไม่ค่อยกัดคน ค่อนข้าง primitive

ที่มา : http://www.followhissteps.com/web_health/snakelec.html

ยาแก้พิษสัตว์กัดต่อย

1. ใช้ยางมะละกอทาที่บริเวณแผล
2. ใช้ปูนแดงทาที่แผลถูกกัดต่อย
3. ใช้รากไม้เท้ายายม่อมฝนกับน้ำทาตรงที่ถูกกัดต่อย
4. ใช้ใบฟ้าทะลายโจนตำใส่เหล้าทาแก้พิษตะขาบกัด
5. ใช้ใบผักบุ้งทะเลตำพอกถอนพิษแมงกะพรุนไฟ
6. ใช้ผักบุ้งสดตำใส่เกลือนิดหน่อยพอกแผล
7. ใช้ผักกาดส้มตำพอกถอนพิษผึ้งต่อย
8. ใช้ผักกาดน้ำสดครึงบริเวณที่ถูกผึ้งต่อย
9. ใช้รากเจตมูลเพลิงแดงแช่เหล้าทา
10. ใช้สารส้มตำเป็นผงใส่แผลที่ถูกแมลงป่องต่อย

ยาแก้พิษงู

1. ใช้ใบเสลดพังพอน 1 กำมือประมาณ 20-30 ใบ ตำละลายเหล้าขาวคั่นเอาน้ำยากินแล้วเอากากพอกบริเวณที่ถูกงูกัด ถ้าใครถูกงูเห่ากัดอย่าลืมเอาผ้ารัดเส้นโลหิตเหนือแผลนั้นให้แน่น
2. ใช้ใบเถาคันแดง 5-6 ใบ ตำคั้นเอาน้ำแล้วผสมน้ำซาวข้าวกิน แล้วใช้อีก 4-5 ใบตำพอกที่แผล
3. ใช้ผักบุ้งสดตำคั้นเอาน้ำประมาณครึ่งถัวยผสมเหล้าขาวกิน เอากากพอกที่แผล
4. ใช้ใบว่านงูตำผสมน้ำมะนาวหรือเหล้ากิน
5. ใช้ว่านงูเห่าฝนกับน้ำกินและทา